ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
เมื่อประชากรโลกเพิ่มขึ้น การอุปโภคทรัพยากรเพื่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ย่อมเพิ่มขึ้นด้วย ผลตามมาจากการใช้ทรัพยากรประการหนึ่งคือ เศษซากของใช้แล้วที่เรียกว่าขยะมูลฝอยที่นับวันเพิ่มปริมาณจนไม่อาจจัดเก็บออกจากชุมชนและทำลายได้ทันการ ดังเช่นในเขตกรุงเทพมหานคร นครเชียงใหม่ และเมืองใหญ่อื่น ๆ ของประเทศไทย มลภาวะจากขยะมูลฝอยนี้สร้างความสกปรก หมักหมม จนเกิดความอุจจาดทางสายตา ตลอดจนส่งกลิ่นรบกวน สร้างความรำคาญและหงุดหงิด ทั้งยังเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคและเขตแพร่กระจายโรคร้ายต่อไปได้ และหรือทำให้เกิดอัคคีภัยได้ ความเดือดร้อนรำคาญจากปริมาณขยะมูลฝอยจำนวนมหาศาลขณะนี้ ดังที่ผลการสำรวจของ พีเพิล เอฟเอ็ม สยามเรดิโอ เมื่อช่วงกลางปี 2539 เกี่ยวกับปัญหา มลพิษในประเทศไทย ได้พบว่าคนไทยรู้สึกว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ต้องแก้ไขเร่งด่วนเฉพาะหน้าคือ ปัญหาขยะมูลฝอยที่เพิ่มมากขึ้น สกปรกและอุจจาดอยู่ตามสาธารณะและกองขยะที่ไม่อาจจัดเก็บมาทำลายได้ทันการของเจ้าหน้าที่ในเขตเมืองต่าง ๆ
ศึกษาจากวีดีโอกันครับ
มลพิษทางน้ำ(Water Pollution)
ในชีวิตประจำวันแล้ว น้ำยังมีบทบาทสูงในการรังสรรค์อารยะธรรมความมั่น
คงและมั่งคั่งของสังคม มนุษย์ชาติได้ประโยชน์มหาศาลจากทรัพยากรน้ำมา
โดยตลอด แต่ในปัจจุบันปัญหาการขาดแคลนน้ำ และการเกิดมลพิษทางน้ำ
ยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ เนื่องจากผู้ใช้น้ำส่วนใหญ่ขาดความรับรู้และ
จิตสำนึกรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้สถานการณ์ของ
ทรัพยากรน้ำอาจเกิดปัญหาใหญ่ถึงขั้นวิกฤติ โดยเฉพาะในด้านการขาด
แคลนน้ำทั้งนี้เนื่องจาก
" แนวโน้มที่จะเกิดภัยแล้งมากขึ้น
" น้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ มีคุณภาพลดลง
" การใช้น้ำฟุ่มเฟือยในกิจการต่าง ๆ อันได้แก่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม
พาณิชยกรรม การใช้น้ำในครัวเรือนและธุรกิจ บริการต่าง ๆ
แหล่งกำเนิดน้ำเสีย
น้ำเสียจากชุมชนได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนที่
อาศัยอยู่ในชุมชน น้ำเสียนี้มีสกปรกในรูปของสารอินทรีย์สูง น้ำเสียจาก
อุตสาหกรรมได้แก่ น้ำเสียที่เกิดจากกระบวนการอุตสาหกรรม ตั้งแต่ขั้น
ตอนการล้างวัตถุดิบ กระบวนการผลิตจนถึงการทำความสะอาดโรงงาน
รวมทั้งน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการบำบัดหรือน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วแต่
ยังไม่เป็นไปตามมาตรฐานน้ำทิ้งอุตสาหกรรมองค์ประกอบของน้ำทิ้งจาก
โรงงานอุตสาหกรรมจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำทิ้ง
ประเภทและขนาดของโรงงาน
น้ำเสียจากเกษตรกรรมได้แก่น้ำเสียที่เกิดจากกิจกรรมทางการเพาะปลูก
การเลี้ยงสัตว์ น้ำเสียจากการเพาะปลูกจะมีไนโตรเจน ฟอสฟอรัส
โปแตสเซียม และสารพิษต่างๆ ในปริมาณสูงส่วนน้ำเสียจากการ
เลี้ยงสัตว์จะพบสิ่งสกปรกในรูปของสารอินทรีย์เป็นส่วนมาก
" มีสีและกลิ่นที่น่ารังเกียจ ไม่สามารถใช้อุปโภคและบริโภคได้
" เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตทั้งในน้ำ และในบริเวณใกล้เคียงทำให้เสีย
ความสมดุลทางธรรมชาติ เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
" เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน เพราะเป็นแหล่ง
เพาะพันธุ์ของเชื้อโรคและเป็นพาหนะนำโรคต่าง ๆ สู่มนุษย์ สัตว์ และพืช
" ทำลายทัศนียภาพ โดยเฉพาะแหล่งน้ำที่ใช้ในการคมนาคมและ
แหล่งท่องเที่ยว
" เป็นปัญหาต่อกระบวนการผลิตน้ำประปา ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย
ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำเพิ่มมากขึ้น
หลักการป้องกันมลพิษทางน้ำ
เราสามารถมีส่วนร่วมในการรักษาสภาพที่ดีของแหล่งน้ำได้โดย
" ไม่ทิ้งของเสียลงสู่แหล่งน้ำ และทางระบายน้ำสาธารณะ
" บำบัดน้ำเสียขั้นต้น ก่อนระบายลงแหล่งน้ำหรือท่อระบายน้ำ
" ช่วยกันลดปริมาณการใช้น้ำ และลดปริมาณขยะในบ้านเรือน
" ลดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืชในกิจกรรม
ทางเกษตรหรือสารเคมีที่ใช้ในบ้านเรือน
" ควรนำน้ำเสียกลับมาใช้ประโยชน์
" สำรวจเพื่อลดปริมาณน้ำเสีย ของแต่ละขั้นตอนการผลิตใน
โรงงานอุตสาหกรรม
" สร้างจิตสำนึกของประชาชนในตระหนักถึงความสำคัญของ
การรักษาคุณภาพแหล่งน้ำและประหยัดการใช้น้ำ
3. ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าหรือบุกรุกพื้นที่ป่าสงวน
การลักลอบตัดไม้ทำลายป่า บริเวณแนวชายแดน พื้นที่ 5 อำเภอชายแดน จังหวัดตาก สภาพพื้นที่ป่าขะเนจื๊อที่ปรากฎการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ มีครอบคลุมพื้นที่ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ.ขะเนจื๊อ บ.ห้วยปลากอง และ บ.ไร่ดินแดง ต.ขะเนจื๊อ อ.แม่ระมาด จ.ตาก ซึ่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ระมาด โดยลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบร่องเขาระหว่าง ดอยเรวา ดอยผาแดง และดอยพระเจ้า ซึ่งทอดยาว ในแนวเหนือ-ใต้ มีห้วยลำน้ำที่สำคัญ ประกอบด้วย ห้วยปลากอง ห้วยงูเห่า ห้วยขึ้นล่อง ห้วยขะเนจื๊อเท่อ ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี โดยมีต้นน้ำที่เกิดจากดอยผาแดง และ ดอยเรวา และไหลลงสู่แม่น้ำเมย ซึ่งเป็นเส้นเขตแดนไทย-พม่า การบุกรุกพื้นที่ป่า ต.ขะเนจื๊อ แบ่งตามความประสงค์ของนายทุนหรือราษฎร 2 ลักษณะดังนี้ 1. การบุกรุกพื้นที่ป่า เพื่อประสงค์ที่ดิน 1.1 การบุกรุกพื้นที่ป่าโดยราษฎร บ.ห้วยปลากอง และหมู่บ้านใกล้เคียง ในการขยายพื้นที่เพาะปลูกจากบริเวณหมู่บ้าน ไปยังพื้นที่ป่าเชิงเขาและริมแม่น้ำเมย ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณ ดอยเรวา และห้วยขึ้นล่อง ด้วยวิธีการ เข้ากานไม้สักยืนต้นจนใบไม้หลุดร่วงตายเอง และถากถางพื้นที่เพาะปลูก จนแสงแดดถึงพื้นดิน จึงทำการเพาะปลูก แซมไม้สักยืนต้นตาย และจะตัดโค่นไม้สัก ลักลอบจำหน่ายให้ผู้ประกอบการต่อไป ซึ่งในพื้นที่จะเหลือสภาพที่เป็นตอไม้ที่รอการเผาทำลาย เป็นพื้นที่เพาะปลูกโดยสมบูรณ์ | |
และจะขยายพื้นที่ในลักษณะดังกล่าวในบริเวณโดยรอบต่อไป ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป จนสามารถครอบครองที่ดินโดยราษฎรได้ ทั้งนี้หากไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ ซึ่งอาจทำให้นายทุนซื้อที่ดินเข้าครอบครองพื้นที่ในอนาคตต่อไป 1.2 การบุกรุกพื้นที่ป่าโดยผู้ประกอบการ หรือ นายทุน ด้วยวิธีการ จับจองพื้นที่ กั้นแนวรั้ว กานไม้สักยืนต้นตาย และครอบครองทำการเกษตรหรือการลักลอบตัดไม้ เพื่อจำหน่าย รวมทั้งหากไม่มีเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการอาจมีการขยายพื้นที่ป่าเป็นบริเวณกว้างในอนาคตต่อไปได้ ทั้งนี้การบุกรุกจะใช้พื้นที่ป่าใกล้แนวเส้นทาง และริมแม่น้ำเมย บริเวณ บ.ห้วยปลากอง และห้วยขึ้นล่อง | |
2. การลักลอบตัดไม้สักท่อน เพื่อประสงค์ต่อไม้ 2.1 การลักลอบตัดไม้สักท่อน โดยวิธีการชักลากลงแม่น้ำเมย เข้าโรงงานทำไม้ในเขตพม่า 2.1.1 การลักลอบตัดไม้สักท่อนโดยผู้ประกอบการอาจว่าจ้างให้ลักลอบตัดไม้ ในลักษณะจ้างราษฎรคนไทยตัดไม้ในพื้นที่ลึกห่างแนวชายแดน โดยเฉพาะบนเขาที่สูง บริเวณดอยเรวา และดอยผาแดง โดยจะลักลอบชักลากไม้ลงแม่น้ำเมย ข้ามไปยังเขตพม่า 2.1.2 การลักลอบด้วยการจ้างราษฎรพม่า หรือ ชกน.ในเขตพม่า ข้ามแม่น้ำเมย มาตัดไม้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ป่าริมแม่น้ำเมย บริเวณ ห้วยขึ้นล่อง แก่งป่าคา ซึ่งอยู่ตรงข้ามพื้นที่อิทธิพลของ กกล.ชกน. โดยในอดีตพื้นที่ป่าดังกล่าว อาจมีการลักลอบวางกับระเบิดทุ่นระเบิด เพื่อป้องกันตน ทำให้ราษฎรไทยไม่กล้าที่จะเข้าพื้นที่ ผู้ประกอบการจึงอาจจ้างให้ ราษฎรพม่าหรือ ชกน.ซึ่งคุ้นเคยพื้นที่เข้าลักลอบตัดไม้ แล้วชักลากไม้ลงแม่น้ำเมย เพื่อข้ามไปไว้ฝั่งพม่า ซึ่งอาจแปรรูปไม้ ในเขตพม่า หรืออาจรอการล่องเรือลำเลียงเข้าโรงงานแปรรูปไม้บริเวณตรงข้าม บ.วังผา อ.แม่ระมาด 2.2 การลักลอบตัดไม้สักท่อน และแปรรูปในพื้นที่ป่า เข้าโรงงานทำไม้ในเขตไทย การลักลอบตัดไม้สัก และซอยแปรรูปไม้ด้วยเลื่อยมือ แล้วลักลอบขนเข้าโรงงาน โดยผู้ประกอบการอาจว่าจ้างให้ราษฎรคนไทยในพื้นที่ตัดไม้ในพื้นที่ป่าบนเขา โดยเฉพาะการตัดไม้ที่ใกล้เส้นทาง บริเวณที่เคยปรากฏ ได้แก่ บ.ห้วยแห้ง ต.ขะเนจื๊อ อ.แม่ระมาด | |
ซึ่งมีถนนหมายเลข 105 (อ.แม่สอด-อ.แม่สะเรียง) เป็นเส้นทางผ่าน ที่สามารถเคลื่อนย้ายไม้เข้าโรงงานแปรรูปไม้ในเขตไทยได้ 2.3 การสร้างบ้านอำพรางเป็นไม้เรือนเก่า เคลื่อนย้ายเข้าโรงงานทำไม้ในเขตไทย การสร้างบ้านโดยราษฎร หรือนายทุน ด้วยการลักลอบตัดไม้นำมาสร้างบ้านในลักษณะอำพราง ซึ่งการสร้างบ้านไม่มีการตบแต่งไม้ให้อยู่ในสภาพที่อยู่อย่างถาวร ทั้งนี้เพื่อรอเวลาครบ 5 ปี ผู้ประกอบการหรือนายทุนจะดำเนินการขออนุญาตเคลื่อนย้ายไม้เรือนเก่า และจำหน่ายเข้าโรงงานทำไม้ 2.4 การลักลอบตัดไม้โดยราษฎร หรือนายทุนว่าจ้าง เพื่อจำหน่ายให้ผู้ประกอบการโดยตรง | |
การดำเนินการของ หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 1. จัดกำลังชุดปฏิบัติการลาดตระเวนร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ชรบ.ห้วยปลากอง มีผลการปฏิบัติ 16 ครั้ง ตรวจยึดไม้สักท่อน จำนวน 813 ครั้ง และผู้ต้องหา 8 คน 2. จัดทำประชาคมราษฎร บ.ห้วยปลากอง เพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการลักลอบตัดไม้ ทั้งนี้ราษฎรมีความเห็นที่ต่อต้านผู้ประกอบการที่ขอตั้งคลังสินค้า เพื่อสะดวกในการนำเข้าสิ่งประดิษฐ์ที่ทำจากไม้ บริเวณ บ.ห้วยปลากอง | |
1. ใช้มาตรการตามแนวทางต่อการลักลอบตัดไม้ เพื่อประสงค์ไม้ และที่ดิน
2. จัดทำแผนโครงการร่วมมือ ระหว่างส่วนราชการและประชาชน ให้ครอบคลุมมาตรการต่อการลักลอบตัดไม้ เพื่อประสงค์ไม้ และที่ดิน
3. ประชาคมชาวบ้าน ใช้ภาพถ่ายทางอากาศ/ภาพถ่ายดาวเทียมให้ชุมชน นำชี้พื้นที่ทำกิน
4. จัดสรรที่ทำกินให้ราษฎร โดยใช้พื้นที่บุกรุกเดิม และพื้นที่ยึดคืน
5. จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพป่า
6. จัดสร้างจุดตรวจการณ์ และจุดต้านทานถาวรบนที่สูง ตรวจการณ์ครอบคลุมพื้นที่
โดยยึดหลัก : หยุดยั้ง – ยึดคืน – ฟื้นฟู – ดูแลรักษา อย่างเป็นวงจร ตามลำดับ ดังนี้
1. หยุดยั้ง
1.1 ตรวจสอบพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุกทั้งทางพื้นดิน ด้วยการลาดตระเวน เฝ้าตรวจ และตรวจสภาพทางอากาศ รวมทั้งถ่ายภาพพื้นที่ป่าในสภาพปัจจุบัน เพื่อนำภาพถ่ายมาทำข้อมูลและตรวจสอบราษฎรที่บุกรุกพื้นที่ไม่ให้กระทำใดๆในพื้นที่ ถือเป็นการดำเนินการโดยผิดกฎหมาย
1.2 จัดทำข้อมูลการถูกบุกรุกพื้นที่ป่า โดยแบ่งเป็นบุกรุกโดยราษฎร และ นายทุน เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการต่อกลุ่ม ซึ่งควรกำหนดให้ใช้พื้นที่ทำการเกษตรเฉพาะราษฎรในพื้นที่ จำนวนพื้นที่ กี่ไร่ ใครควรมีพื้นที่หรือไม่มีพื้นที่ โดยพิจารณาแบ่งพื้นที่ที่เป็นธรรม และเหมาะสม
2. ยึดคืน
2.1 ดำเนินการตรวจยึดพื้นที่บุกรุกคืนทั้งหมด โดยหน่วยงานป่าไม้ในพื้นที่
2.2 ทำประชาคมราษฎรในพื้นที่ โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ หรือภาพถ่ายดาวเทียม ให้ชุมชนนำไปชี้พื้นที่ทำกินของราษฎร
2.3 นายทุนไม่มีสิทธิ์ในการครอบครองหรือใช้พื้นที่ป่า ซึ่งควรพิจารณาให้เฉพาะราษฎรที่มีความต้องการใช้พื้นที่ทำการเกษตร โดยจัดที่ทำกินเป็นส่วนรวมของหมู่บ้านตามความเหมาะสม และราษฎรได้รับสิทธิ์เท่าเทียมกัน ทั้งนี้พื้นที่โดยรอบหมู่บ้าน หรือพื้นที่ราบถูกบุกรุกมีผืนติดต่อกัน เป็นพื้นที่ให้มีการจัดที่ทำกิน เพื่อรักษาสภาพป่าในพื้นที่เขาที่เป็นต้นน้ำ
3. ฟื้นฟู
3.1 จัดทำโครงการฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่า ด้วยการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ถูกบุกรุกเดิม ให้เติบโตทดแทนพื้นที่ป่าที่ถูกทำลาย
3.2 จัดทำโครงการสร้างฝายในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และตามห้วยลำน้ำในพื้นที่ เพื่อฟื้นฟูสภาพพื้นที่ป่า
4. ดูแลรักษา
4.1 ส่งเสริมให้ท้องถิ่น หมู่บ้าน/ชุมชน เห็นความสำคัญของป่า และมีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาป่าของหมู่บ้าน/ชุมชน
4.2 ดำเนินการลาดตระเวน เฝ้าตรวจร่วมกับเจ้าหน้าที่ป่า และราษฎรในพื้นที่ เช่น ชรบ. เพื่อตรวจสภาพพื้นที่ป่าร่วมกัน และต่อเนื่อง
4.3 จัดสร้างที่ตรวจการณ์และจุดต้านทานถาวรบนที่สูง บริเวณดอยพระเจ้า ซึ่งสามารถใช้ตรวจสภาพพื้นที่ป่า ได้ครอบคลุมพื้นที่ป่าขะเนจื๊อ รวมทั้งสามารถใช้ประโยชน์ในการตรวจการณ์ในพื้นที่ตรงข้ามได้
รัฐบาลต้องเข้มงวดและจริงจังเพื่อจับกุมคนที่ตัดต้นไม้ซึ่งขณะนี้รณรงค์ให้ปลูกต้นไม้แล้วจะทันกับต้นไม้ที่พวกเห็นแก่ตัวตัดไปเป็นผลประโยชน์ส่วนตัวไหม ออกกฎหมายให้แรงถือว่าทำลายประเทศไทยอย่างรุนแรง
ตอบลบ